การสร้างสื่อการเรียนการสอนด้วย Microsoft PowerPoint



1.ประวัติความเป็นมาของ Microsoft PowerPoint

โปรแกรม Power Point เริ่มแรกนั้นได้รับการพัฒนาโดย บ๊อบ กัสกินส์ (Bob Guskins) อดีตนักศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิตมหาวิทยาลัยแคลิฟอเนียเบิร์กเลย์ ( University of California, Berkley) โดยกัสกินส์เขียนโปรแกรมสร้างแผ่นสไลด์สามารถนำสไลด์มาเรียงลำดับเป็นผลงานการนำเสนอแบบง่ายๆ

พ.ศ. 2527 กัสกินส์ได้ร่วมกับบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ในซิลิคอนแวลลี่ชื่อ ฟอร์ธ็อทและว่าจ้างนายแดนิส ออสติน มาพัฒนาโปรแกรมให้ดีขึ้นใช้ชื่อว่า โปรแกรมพรีเซนเตอร์ (Presenter) และได้เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า เพาเวอร์พอยต์ (Power Point)

พ.ศ. 2530 ได้มีการสร้างโปรแกรม PowerPoint เวอร์ชั่น 1.0 ขึ้นให้กับเครื่องแอปเปิลแม็คอินทอชเป็นหน้าจอแบบขาวดำเหมือนกล้องถ่ายขาวดำ สามารถฉายออกเครื่องฉายแผ่นสไลด์และในปีนี้บริษัทไมโครซอฟต์คอร์ปอเรชั่นได้เข้าซื้อบริษัทฟอร์ธ็อทและโปรแกรม PowerPoint ในราคา 14 ล้านดอลลาร์

พ.ศ. 2531 ไมโครซอฟต์ได้พัฒนาโปรแกรม PowerPoint ให้ใช้กับระบบปฏิบัติการ Windows และ Dos เป็นเวอร์ชั่นแรก โปรแกรม PowerPoint ได้พัฒนามาถึงรุ่น 2003 หรือรุ่น 11.0 ซึ่งมีชื่อเป็นทางการว่าไมโครซอฟต์ออฟฟิศเพาเวอร์พอยต์ 2003 (Microsoft Office PowerPoint 2003) รวมอยู่ในชุดไมโครซอฟต์ออฟฟิศ 2003พ.ศ. 2558 โปรแกรม PowerPoint ได้พัฒนามาถึงรุ่น 2016 มีฟังก์ชั่นการใส่งานใหม่ๆเพิ่มมากขึ้น เช่น ข้อความแสดงแทนสำหรับรูปภาพ,การนำพื้นหลังออกได้ง่ายขึ้น,Straightedge สำหรับวาดเส้นตรงคำบรรยายภาพแทนการได้ยินคำบรรยายและแทร็กเสียงหลายแทร็ก,ยางลบเฉพาะส่วนสำหรับรูปวาดด้วยหมึก,ใช้ปากกาดิจิทัลเพื่อเลือกและเปลี่ยนวัตถุหมึก เป็นต้น

2.โปรแกรม PowerPoint คือ

          เป็นโปรแกรมหนึ่งในตระกูล Microsoft Office ที่ถูกออกแบบมาให้ใช้กับงานด้านการนำเสนอเรื่องราวต่าง ๆ (Presentation)ในลักษณะคล้าย ๆ กับการฉายสไลด์ (Slide Show) โดยเราสามารถใช้คำสั่งของ PowerPoint สร้างแผ่นสไลด์ที่มีรูปภาพและข้อความบรรยายเรื่องราวที่ต้องการจะนำเสนอได้อย่างรวดเร็วพร้อมทั้งกำหนดลักษณะแสงเงาและลวดลายสีพื้นให้สไลด์แต่ละแผ่นมีความสวยงามน่าสนใจยิ่งขึ้น นอกจากนี้เรายังสามารถกำหนดรูปแบบการฉายสไลด์แต่ละแผ่นอย่างต่อเนื่องและใช้เทคนิคพิเศษในการแสดงข้อความแต่ละบรรทัดเพื่อให้ผู้ชมการฉายสไลด์ค่อย ๆ เห็นข้อความบรรยายและภาพเหล่านี้ทีละขั้น ๆ อย่างต่อเนื่องกันเป็นเรื่องราวตามระยะเวลาที่เรากำหนดไว้เหมาะสำหรับการจัดสร้างงานนำเสนอข้อมูล (Presentation) นำไปประยุกต์ใช้ในงานได้หลายประเภทเช่น การนำเสนอข้อมูลสินค้าและบริการการจัดทำ Slide Show การออกแบบแผ่นพับ เป็นต้น


3.หลักการทำงานของ Microsoft PowerPoint

สำหรับ หลักการทำงานของ Presentation ที่สร้างจาก PowerPoint จะสร้างออกเป็น slide ย่อยๆ แต่ละ slide สามารถใส่ข้อมูลรูปภาพภาพเคลื่อนไหวหรือเสียงเพื่อสร้างความน่าสนใจเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถกำหนดให้ Presentation นำเสนอออกมาแบบในรูปแบบอัตโนมัติได้โดยไม่จำเป็นต้องมีการกดเลือกให้แสดงทีละ slide ได้และก่อนที่เริ่มต้นสร้าง Presentation ควรกำหนดรูปแบบของ Presentation ก่อนว่าต้องการให้แสดงออกในรูปแบบใด เช่น ต้องการให้ส่วนด้านบนแสดงเป็นชื่อหัวข้อด้านล่างเป็นชื่อบริษัทและฉากหลังให้แสดงเป็นสีน้ำเงินเป็นต้น
4.ประโยชน์ของ Microsoft PowerPoint

4.1.สามารถสร้างงานนำเสนอได้ แม้ว่าจะไม่เคยสร้างงานนำเสนอมาก่อน เนื่องจากจะมีระบบช่วยเหลือ (Office Assistant) ใน PowerPoint ซึ่งจะคอยแนะนำหลักการในการสร้างงานนำเสนออย่างเป็นขั้นตอนการเลือกสีมาใช้กับสไลด์และจัดองค์ประกอบทางศิลป์ได้โดยอัตโนมัติ

4.2.ในส่วนการนำเสนอภาพนิ่ง สามารถที่จะนำองค์ประกอบมัลติมีเดีย เช่น การนำเอ็ฟเฟคเสียงดนตรีและวีดีโอมาใช้ประกอบร่วมได้

4.3.นอกจากสิ่งที่ได้เตรียมมานำเสนอแล้วยังสามารถใช้ PowerPoint เตรียมเอกสารประกอบคำบรรยายและในขณะที่มีการนำเสนองานก็สามารถใช้เมาส์วาดเส้นบนสไลด์ที่แสดงอยู่ในขณะนั้นเพื่อเน้นประเด็นสำคัญได้

4.4.สามารถที่จะดัดแปลงงานนำเสนอที่เป็นไฟล์ PowerPoint เป็นสไลด์35 ม.ม. เพื่อใช้นำเสนอผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือเครือข่ายอินเตอร์เน็ตภายในองค์กรได้


การใช้โปรแกรม Microsoft PowerPoint
  1.ส่วนประกอบของโปรแกรม PowerPoint




1. ปุ่มแฟ้ม (File) เป็นส่วนที่ใช้เก็บคำสั่งต่าง ๆ ที่ใช้งานในโปรแกรม เช่น คำสั่งสร้าง (New) บันทึก (Save) บันทึกเป็น (Save as)

2. แถบเครื่องมือด่วน (Quick- Access) เป็นแถบที่ใช้แสดงคำสั่งที่ใช้งานบ่อย ๆ ขึ้นมาให้เราสามารถเรียกใช้งานได้ทันที

3. แถบชื่อเรื่อง (Title bar) เป็นส่วนที่ใช้แสดงชื่อโปรแกรมและรายชื่อไฟล์ที่ได้เปิดใช้งานอยู่ในปัจจุบัน

4. ริบบอน (Ribbon) เป็นแถบที่ใช้รวบรวมเครื่องมือการใช้งานเข้าไว้ด้วยกันเพื่อให้สะดวกต่อการใช้งาน

5. แฟ้มสลับมุมมอง

6. สไลด์แบบย่อ

7. สไลด์ปัจจุบันหรือจำนวนสไลด์ทั้งหมด

8. ภาษาของแป้นพิมพ์

9. พื้นที่ใส่โน้ตย่อ

10. มุมมองงานนำเสนอ

11. ย่อหรือขยายเอกสาร

12. พื้นที่ว่างรอบๆสไลด์

13. กรอบใส่ข้อความ

14. กลุ่มคำสั่งย่อในแถบ Ribbon

2.เครื่องมือต่างๆใน Ribbon

ภายในริบบอนจะประกอบไปด้วยเครื่องมือคำสั่งการใช้งาน โดยปุ่มคำสั่งเหล่านี้จะแบ่งเป็นหมวดหมู่และมีหน้าที่การใช้งานที่แตกต่างกันไป โดยในแต่ละริบบอนมีเครื่องมือพร้อมรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้

2.1.หน้าแรก (Home)

เป็นกลุ่มเครื่องมือเกี่ยวกับการทำงานพื้นฐาน เช่น การคัดลอก ตัด วาง สร้างสไลด์ใหม่ กำหนดรูปแบบตัวอักษร วาดรูปทรง เป็นต้น





1.คลิปบอร์ด (Clipboard) ใช้สำหรับการตัด คัดลอก และวางรูปแบบจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง

2.ภาพนิ่ง (Slides) ใช้สร้างและลบสไลด์ออกจากการนำเสนอ รวมถึงจัดเค้าโครง

3.แบบอักษร (Font) ใช้จัดรูแบบตัวอักษร เช่น ฟอนต์ ขนาด ตัวหนาหรือบาง และการเปลี่ยนสีตัวอักษร

4.ย่อหน้า (Paragraph) จัดลักษณะการวางข้อความในสไลด์ว่าจะให้ชิดขอบด้านใด รวมถึงการกำหนดตัวเลขหรือสัญลักษณ์หน้าข้อความ

5.รูปวาด (Drawing) ใช้วาดรูปลงสไลด์ รวมถึงการแก้ไขรูป

6.การแก้ไข (Editing) ใช้ค้นหาและแทนที่ข้อความ

2.2.แทรก (Insert)

ปุ่มคำสั่งเกี่ยวกับการแทรกวัตถุและองค์ประกอบต่างๆ เช่น ตาราง รูปภาพ คลิปอาร์ต รูปทรง ไดอะแกรม กราฟ การเชื่อมโยง กล่องข้อความ อักษรศิลป์ เป็นต้น





1.ตาราง (Tables) ใช้สร้างตาราง รวมถึงนำตารางจากโปรแกรม Microsoft Excel มาใช้

2.รูปภาพ (Images) ใช้แทรกรูปภาพลงในสไลด์ ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพที่ผู้ใช้จัดเตรียมเองหรือเลือกมาจากภาพตัดปะ ซึ่งโปรแกรมจัดไว้ให้

3.ภาพประกอบ (Illustrations) ใช้สำหรับวาดรูปทรงต่างๆ เช่น รูปสี่เหลี่ยม รูปสามเหลี่ยม ตลอดจนภาพแผนภูมิและกราฟต่างๆ

4.การเชื่อมโยง (Link) เป็นการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างสไลด์ด้วยกันหรือเชื่อมโยงไปยังอินเตอร์เน็ต

5.รูปข้อความ (Text) ใช้สร้างกล่องข้อความลงสไลด์ กำหนดหัวกระดาษหรือท้ายกระดาษ การแทรกอักษรศิลป์สวยๆลงในสไลด์

6.สัญลักษณ์ (Symbols) ใช้แทรกสัญลักษณ์พิเศษ รวมถึงการเขียนสมการคณิตศาสตร์ลงในการนำเสนอ

7.มีเดียคลิป (Media) ใช้แทรกไฟล์เสียงและเสียงไฟล์วิดีโอลงในสไลด์

2.3.ออกแบบ (Design)

รวบรวมคำสั่งที่เกี่ยวกับการออกแบบงานพรีเซนเตชัน เช่น การกำหนดขนาดและตำแหน่งในการจัดวางของหน้าสไลด์ การกำหนดและปรับเปลี่ยนรูปแบบสำเร็จรูป การกำหนดพื้นหลังสไลด์ เป็นต้น





1.ตั้งค่าหน้ากระดาษ (Page Setup) ใช้กำหนดขนาดสไลด์ และกำหนดว่าจะให้สไลด์อยู่ในแนวนอนหรือแนวตั้ง

2.ชุดรูปแบบ (Themes) ใช้เลือกชุดสี การตั้งค่าสี และขนาดตัวอักษรลงในสไลด์

3.พื้นหลัง (Background) ใช้กำหนดสีหรือรูปภาพลงในพื้นหลังสไลด์ ตลอดจนไม่แสดงพื้นหลังสไลด์

2.4.การเปลี่ยน (Transition)

เป็นแท็บที่ใช้กำหนดลูกเล่นในการเปลี่ยนสไลด์ ตลอดจนรายละเอียดต่างๆในการเปลี่ยนแผ่นสไลด์ เช่นการกำหนดเสียงในระหว่างการเปลี่ยนสไลด์ กำหนดเวลาในการเปลี่ยนสไลด์ เลือกการเปลี่ยนแปลงสไลด์โดยการคลิกเมาส์ หรือเปลี่ยนตามเวลาที่กำหนด เป็นต้น




1.แสดงตัวอย่าง (Preview) ใช้ดูตัวอย่างผลลัพธ์ในการกำหนดลูกเล่นในการเปลี่ยนแผ่นสไลด์

2.การเปลี่ยนไปยังภาพนิ่ง (Transition to this slide) ใช้เลือกรูปแบบการเปลี่ยนสไลด์ลการแก้ไขสไลด์

3.กำหนดเวลา (Timing) ใช้กำหนดวิธีการเปลี่ยนสไลด์ว่าจะใช้คลิกเมาส์หรือเปลี่ยนตามเวลาที่กำหนด ตลอดการกำหนดเสียงให้สไลด์

2.5.ภาพเคลื่อนไหว (Animation)

เป็นแท็บที่ใช้กำหนดลูกเล่นในการนำเสนอ เช่น ลูกเล่นในการเปลี่ยนสไลด์เช่น ลูกเล่นในการแสดงข้อความหรือรูปภาพสไลด์ การกำหนดเสียงในระหว่างการเปลี่ยนสไลด์ รวมถึงการกำหนดเวลาในการเปลี่ยนแผ่นสไลด์





1.แสดงตัวอย่าง (Preview) ใช้ดูตัวอย่างผลลัพธ์ในการกำหนดลูกเล่นต่างๆที่อยู่ในสไลด์แผ่นปัจจุบัน

2.ภาพเคลื่อนไหว (Animation) ใช้กำหนดลูกเล่นให้กับข้อความ รูปภาพหรือสิ่งต่างๆที่อยู่ในสไลด์

3.ภาพเคลื่อนไหวขั้นสูง (Advanced Animation) ใช้ปรับแต่งรายละเอียดให้กับลูกเล่นที่อยู่ในสไลด์

4.กำหนดเวลา (Timing) กำหนดจังหวะเวลาในการปรากฏลูกเล่น หรือการหายไปของลูกเล่น

2.6.การนำเสนอภาพนิ่ง (Slide Show)

เป็นแท็บที่ใช้รวบรวมคำสั่งสำหรับการปรับแต่งสไลด์เพื่อใช้ในการนำเสนอ ไม่ว่าจะกำหนดให้นำเสนอในสไลด์แผ่นใด การซ่อนสไลด์ที่ไม่ใช้ การบันทึกเสียงประกอบสไลด์ การกำหนดขนาดสไลด์




1.เริ่มนำเสนอภาพนิ่ง (Slide Show) ใช้ในการนำเสนอสามารถเลือกแผ่นของสไลด์ที่จะนำเสนอ

2.ตั้งค่า (Setting) ใช้ในการตั้งค่าหรือซ่อนภาพนิ่งนอกจากนี้ยังสามารถกำหนดเวลาของสไลด์

3.จอภาพ (Screen) ใช้กำหนดความละเอียดของจอภาพ และใช้ในการตั้งค่าสำหรับการเชื่อมกับคอมพิวเตอร์หลายเครื่อง

2.7.การตรวจทาน (Review)

เป็นแท็บที่ใช้รวบรวมคำสั่งสำหรับการแก้ไขงานนำเสนอให้มีความถูกต้องสมบูรณ์มากที่สุด ซึ่งประกอบไปด้วยการตรวจทานความถูกต้องของตัวสะกด การแทรกข้อคิดเห็นเล็กๆน้อยๆและการป้องกันงานนำเสนอไม่ให้ผู้อื่นที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้ามาดูหรือแก้ไข




1.การพิสูจน์อักษร (Proofing) ใช้ตรวจสอบความถูกต้องของตัวอักษร ค้นคว้า อ้างอิง ข้อมูล

2.ภาษา (Language) กำหนดรูปแบบการใช้ภาษาในสไลด์

3.ข้อคิดเห็น (Comment) เพิ่มข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะลงในสไลด์

4.เปรียบเทียบ (Compare) ใช้เปรียบเทียบว่าสไลด์ต้นฉบับ กับสไลด์ที่มีการแก้ไขมีความแตกต่างกันตรงไหน

2.8.มุมมอง (View)

เป็นแท็บที่ใช้ปรับมุมมองของงานนำเสนอในลักษณะต่างๆเพื่อให้เหมาะกับลักษณะการทำงานในขณะนั้น




1.มุมมองนำเสนอ (Presentation View) ใช้เปลี่ยนแปลงมุมมอง เพื่อให้สามารถจัดทำงานนำเสนอได้อย่างง่าย

2.มุมมองหลัก (Master View) ใช้แก้ไขสไลด์ต้นแบบ ซึ่งมีผลต่อชุดสไลด์ที่เกี่ยวข้องกับต้นแบบนั้นๆ

3.แสดง (Show) ใช้แสดงหรือซ่อนไม้บรรทัด เส้นตารางและแถบข้อความที่ได้กำหนด

4.ย่อ-ขยาย (Zoom)ย่อ-ขยาย สไลด์เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างง่ายขึ้น

5.สี/ระดับสีเทา (Color/Grayscale) กำหนดว่าจะแสดงสี หรือแสดงสไลด์แบบขาวดำ

6.สัญลักษณ์ (Window) ใช้สร้างหน้าต่างขึ้นมาให้ และจัดการหน้าต่างที่ซ้อนกัน

7.มาโคร (Macros) ใช้สร้างมาโครเพื่อกำหนดหรือรวมคำสั่งหลายๆคำสั่งไว้ด้วยกัน

3.การเลือกเค้าโครง

1. คลิกที่แถบริบบอนเมนูหน้าแรก ดังภาพ


     
       
2.เลือกคลิกที่เค้าโครงภาพนิ่ง

3. จะปรากฏ Trip รูปแบบของ Office ให้เลือกใช้สำหรับสร้างภาพนิ่ง

4. เลือกชุดรูปแบบสำหรับนำเสนองาน จะได้ดังภาพ



4.การเปลี่ยนสีพื้นหลังตามรูปแบบของโปรแกรม

การปรับเปลี่ยนสีพื้นหลังของสไลด์นั้น มีประโยชน์อย่างมากเมื่อต้องการให้สไลด์งานของเราดูโดดเด่น และน่าสนใจ ซึ่งทำได้หลายวิธี การปรับเปลี่ยนสีพื้นหลังตามรูปแบบที่มีมาให้ในโปรแกรม

4.1.การเปลี่ยนสีพื้นหลัง

1. คลิกที่แทบริบบอน เมนูออกแบบ

2. คลิกลักษณะพื้นหลัง

3. เลือกสีพื้นหลังที่ต้องการ ดังภาพ


   

4. พื้นหลังของสไลด์ที่เลือกก็จะปรากฏสีใหม่ขึ้นมา ดังภาพ



4.2.การปรับเปลี่ยนสีพื้นหลังของสไลด์แบบไล่ระดับสี
1. คลิกเลือก ลักษณะพื้นแล้วเลือก จัดรูปแบบพื้นหลัง ดังภาพ
             

2. คลิกแท็บ เติม

3. คลิกเลือก เติมไล่ระดับ

4. เลือกรูปแบบการไล่ระดับสีที่ต้องการดังภาพ


5. กำหนดคุณลักษณะการไล่ระดับสีคลิกปุ่ม นำไปใช้กับทั้งหมด




6. พื้นหลังของสไลด์ก็จะถูกปรับเปลี่ยนสีตามที่กำหนด ดังภาพ




4.3.การเปลี่ยนพื้นหลังให้มีลวดลาย

1. คลิกเลือก ลักษณะพื้นหลัง (Background Styles) แล้วเลือก จัดรูปแบบพื้นหลัง (Format Background) ดังภาพ


2. คลิกแท็บ เติม

3. คลิกเลือก เติมรูปภาพ หรือพื้นผิว

4. เลือกลวดลายที่ต้องการ ดังภาพ



5.คลิกปุ่ม นำไปใช้กับทั้งหมด ดังภาพ


6. พื้นหลังของสไลด์ก็จะถูกปรับเปลี่ยนพื้นหลังตามที่ได้เลือก


3.การนำไฟล์ภาพมาใส่เป็นสีพื้นหลังของสไลด์

1. คลิกเลือก ลักษณะพื้นหลังแล้วเลือก จัดรูปแบบพื้นหลัง


2. คลิกแท็บ เติม

3. คลิกเลือก เติมรูปภาพ หรือพื้นผิว

4. คลิกปุ่มแฟ้ม ดังภาพ


5. เลือกสถานที่จัดเก็บภาพ

6. เลือกภาพที่ต้องการ

7คลิกปุ่มแทรก ดังภาพ


8. นำไปใช้กับทั้งหมด

9. รูปภาพก็จะมาปรากฏบนพื้นหลังของสไลด์ ดังภาพ


5.การเพิ่มไฟล์เสียงลงในสไลด์

5.1.การแทรกไฟล์เสียงจากไฟล์ที่มีอยู่

1. คลิกแทบริบบอน เมนู แทรก

2. คลิกเลือก เสียง ดังภาพ


3. คลิกเลือกพื้นที่จัดเก็บไฟล์เสียง

4. เลือกไฟล์เสียงที่ต้องการ

5. คลิกแทรก ดังภาพ


6. จะปรากฏสัญลักษณ์รูปลำโพงขึ้นมาบนสไลด์ หากต้องการทดลองฟังเสียงที่ใส่ลงไปให้คลิกที่รูปลำโพ ดังภาพ


6.การแทรกภาพเคลื่อนไหว

6.1.การแทรกภาพเคลื่อนไหวจากไฟล์วิดีโอที่มีอยู่

1. คลิกแท็บ แทรก

2. คลิกเลือกวิดีโอ วิดีโอจาแฟ้ม ดังภาพ


3. คลิกเลือกพื้นที่จัดเก็บไฟล์วิดีโอ

4. เลือกไฟล์วิดีโอที่ต้องการ

5. คลิกริบบอน เมนูแทรก ดังภาพ



6. จะปรากฏหน้าจอบนสไลด์ ถ้าต้องการทดลองดูวิดีโอที่ใส่ลงไปให้คลิกที่เครื่องหมาย ดังภาพ



6.2.การแทรกไฟล์วิดีโอจากเว็บไซต์

1. คลิกแทบริบบอน เลือกเมนูแทรก

2. คลิกเลือกวิดีโอจากเว็บไซต์ ดังภาพ



3. จะปรากฏกล่องสำหรับใส่โค้ดวิดีโอ (สามารถก็อปปี้โค้ดจากวิดีโอ ในเว็บไซต์)

4. ค้นหาวิดีโอที่ต้องการแทรก คลิกที่แชร์วิดีโอ จะมีหน้าต่างสำหรับแชร์ขึ้นมา

5.ให้คลิกไปที่ ฝัง ดังภาพ




6. จากนั้นจะมีหน้าต่างอีกอันขึ้นมา

7.ให้คัดลอกลิงค์ด้านบนมา ดังภาพ


8. แล้วมาวางไว้ที่หน้าต่างแทรกวิดีโอ

9.คลิกแทรก ดังภาพ


10. จะปรากฏภาพวิดีโอขึ้นมาบนสไลด์ หากต้องการทดลองชมวิดีโอที่ใส่ลงไปให้คลิกที่รูป ดังภาพ








ความคิดเห็น